ผลิตภัณฑ์และบริการ

graphic
graphic

 

 

1. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง (Right to be informed) 

ในการใช้บริการ ท่านควรจะได้รับข้อมูลที่เพียงพอถูกต้อง ครบถ้วน ต่อการตัดสินใจ เช่น ความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ด้านเช่าซื้อ และสินเชื่อรถทำเงิน เป็นต้น รวมถึงพิจารณาผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท สิทธิและข้อผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการแต่ละประเภท คือ อัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆ รวมทั้งเบี้ยปรับที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้ทำตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยผู้ใช้บริการ สามารถสอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันการเงินตามช่องทางต่าง ๆ เช่น ถามพนักงาน ดูจากประกาศที่ติดไว้ทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาที่ทำการ และเว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น 

2. สิทธิที่จะเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระ (Right to choose)

ท่านควรเลือกใช้บริการทางการเงินที่ต้องการจริง ๆ ท่านมีอิสระในการเลือกใช้บริการ เช่น เลือกที่จะทำประกันหรือไม่ทำประกันก็ได้ เป็นต้น

 3. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (Right to be heard) 

หากท่านพบว่าบริษัทปฏิบัติกับท่านไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม เช่น ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ให้รีบแจ้งต่อหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนมายังบริษัท หรือหน่วยงานใด ๆ  เพื่อให้ช่วยแก้ไข บริษัทจะแจ้งผลการดำเนินการให้ท่านทราบในเวลาที่เหมาะสมย โดยท่านยังสามารถติดต่อร้องเรียนและขอคำปรึกษาปัญหาทางการเงินได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ

4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย (Right to redress) 

หากท่านได้รับความเสียหายจากการใช้บริการ ซึ่งหากมีการพิสูจน์หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าเกิดจากความผิดพลาดของบริษัท หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย ท่านมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหายนั้น ซึ่งบริษัทแจ้งผลการดำเนินงานและกระบวนการพิจารณาการชดเชยความเสียหายให้ท่านทราบ อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความผิดพลาดของท่านเอง บริษัทก็ไม่สามารถชดใช้ความเสียหายให้ท่านได้

 

 

 

นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐานทั้ง 4 ประการนี้แล้ว ยังมีสิทธิอื่น ๆ ที่ท่านควรทราบ เช่น

สิทธิของผู้มีประวัติในเครดิตบูโร 

เมื่อท่านได้รับสินเชื่อหรือบัตรเครดิตจากธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง หรือสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ข้อมูลของท่าน เช่น ชื่อ ที่อยู่ (ยกเว้นหมายเลขโทรศัพท์) เลขบัตรประจำตัวประชาชน ประวัติการชำระหนี้ สินเชื่อหรือบัตรเครดิต ฯลฯ จะถูกส่งมาจัดเก็บ รวบรวมไว้ที่เครดิตบูโรตามที่กฎหมายกำหนด ประวัติที่เก็บนั้นจะมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ตรงตามกำหนดและประวัติการค้างชำระหนี้ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านในฐานะที่เป็นผู้ถูกเก็บข้อมูล (เรียกในทางกฎหมายว่าเจ้าของข้อมูล) มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนี้

 

1. สิทธิเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล 

เครดิตบูโรจะเปิดเผยข้อมูลของท่านได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ ​​​
1.1 เมื่อท่านอนุญาตให้เครดิตบูโรเปิดเผยแก่บริษัท ในทางปฏิบัติท่านจะเซ็นชื่อในหนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับใบสมัครสินเชื่อ​
1.2 เมื่อกฎหมายอนุญาตหรือกำหนดไว้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งศาล พนักงานสอบสวน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และในบางกรณี เมื่อเปิดเผยข้อมูลของท่านแล้ว เครดิตบูโรจะต้​องมีหนังสือแจ้งให้ท่านทราบภายในสามสิบวันว่ามีการเปิดเผยข้อมูลของท่าน

 

2. สิทธิที่จะรู้ว่าเครดิตบูโรเก็บรักษาข้อมูลอะไรของท่านบ้า 

ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลตามกฎหมายสามารถขอดูและตรวจสอบความถูกต้องได้ และหากพบว่าข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ถูกต้อง ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งและขอแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น ชื่อ-นามสกุลไม่ถูกต้อง วัน เดือน ปีเกิด ไม่ถูกต้อง ประวัติการชำระหนี้หากมีหลักฐานแล้วว่ามีการชำระหนี้จริงแต่ประวัติที่ตรวจสอบไม่ตรงกับข้อเท็จจริงท่านสามารถแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ทั้งที่เครดิตบูโร หรือแจ้งแก้ไขที่บริษัท

 

3. สิทธิในการขอให้เครดิตบูโรบันทึกข้อโต้แย้งถึงความไม่ถูกต้องของข้อมูลไว้ในบัญชีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีปัญหากับสถาบันการเงินและหาข้อยุติกันไม่ได้

 

4. เมื่อท่านขอบันทึกข้อโต้แย้งไว้แล้วท่านมีสิทธิอุทธรณ์ข้อโต้แย้งนั้นต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต 

ซึ่งอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บันทึกข้อโต้แย้ง

 

5. ถ้าบริษัทไม่อนุมัติสินเชื่อ/บัตรเครดิตให้ท่านเพราะข้อมูลเครดิตของท่าน บริษัทจะออกเป็นเอกสารหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้ท่านเท่านั้น 

ทั้งนี้ เพื่อให้ท่านถือเอกสารหนังสือนั้นมาตรวจสอบข้อมูลของท่านที่เครดิตบูโรได้ฟรี ท่านจะได้ทราบว่าเพราะอะไรหรือมีอะไรในประวัติของท่าน ที่บริษัทระบุว่าเป็นสาเหตุที่ไม่อนุมัติสินเชื่อให้ท่าน

 

สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการติดตามทวงถามหนี้ 

ในกรณีที่ท่านเป็นลูกค้าของบริษัทนภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าท่านจะเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ แต่ท่านก็ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น บริษัทจะติดตามทวงถามหนี้ได้เฉพาะเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. และวันหยุดราชการ ​ เวลา 08.00 – 18.00 น. การทวงถามหนี้ต้องใช้วิธีการและภาษาที่สุภาพ มีการแสดงตนเมื่อติดตามทวงถามหนี้ ไม่ทวงหรือฝากทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ (เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้หรือสามารถทำได้ตามกฎหมาย) เป็นต้น